วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทิน 3

แบบฝึกหัดบทที่ 2


1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ  คณะราษฎร์เป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก เหตุผลที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐภิบาล นโยบายสามารถนำประเทศของตนในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นเห็นชอบในการจรรดลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ    หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ดังนี้
          มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรง และอาณามัยสมบูรณ์ มีความรู้ ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
          มาตรา 63 การส่งเสริมบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ การอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
          มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล ที่จะต้องจัดให้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
          มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3.เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญพุทธศักราช2511 พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญ ฯ พุทธศักราช 2511พุทธศักราช 2517 และพุทธศักราช 2521 มีความแตกต่างกัน เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนไป ดังนี้
          รัฐธรรมนูญ ฯ พุทธศักราช 2517 ได้กำหนดไว้ดังนี้
          มาตรา 59 การส่งเสริมบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ การอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
          มาตรา 60 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล ที่จะต้องจัดให้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
          มาตรา 61 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาของรัฐและเทศบาล ที่จะต้องจัดให้โดยไม่คิดค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควน
           รัฐธรรมนูญ ฯ พุทธศักราช 2517 ได้กำหนดไว้ดังนี้
           มาตรา 72 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐ
          การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
          สถานศึกษาของรัฐและของท้องถิ่น พึงให้ความเสมอภาคแก่บุคคล ในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
          มาตรา 73 การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและของท้องถิ่น จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรมทุกระดับตามสมควร
          จากบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว จะเห็นว่ามีสาระเช่นเดียวกับมาตรา 63 และมาตรา 64 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 ดังได้กล่าวมาแล้ว แต่ได้เพิ่มเติมเรื่องความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของแต่ละบุคคลและได้ขยายแนวนโยบายที่จะช่วยเหลือให้นักเรียนได้อุปกรณ์การศึกษา เพราะอาจเป็นเงินทุนการศึกษาหรือปัจจัยอย่างอื่นที่ใช้ในการศึกษาอบรม
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 ได้กำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐในด้านการศึกษาไว้ในมาตรา 60 และมาตรา 62 ดังนี้
          มาตรา 60 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ
          การจัดการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวง ย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ
          รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพ
          การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐ จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน
          การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้โดยอิสระภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
          มาตรา 62 รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมและเพื่อความมั่นคงของรัฐ
          จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับนี้ได้รวบรวมหลักสำคัญของแนวนโยบายการศึกษาที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับก่อน ๆ มาไว้ในมาตราเดียวกัน จึงเหมือนกับว่านำมาตรา 72 และมาตรา 73 ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 ที่กล่าวมาแล้ว มารวบรวมไว้ในมาตรา 60 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 เพียงแต่ได้ขยายความไว้ในวรรคแรกว่า "รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม และการฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศ" จึงเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับนี้ได้มีแนวนโยบายในด้านการฝึกอาชีพเพิ่มขึ้นมาด้วย ส่วนในมาตรา 62 ได้บัญญัติถึงแนวนโยบายการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมและเพื่อความมั่นคงของรัฐก็ถือว่าเน้นการพัฒนาด้านร่างกาย สุขภาพอนามัย ด้านจิตใจ สติปัญญา เหมือนกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 จึงทำให้นโยบายด้านการศึกษาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับนี้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2549-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ     ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 และประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช2492-2517 มีความแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากนัก มีมาตราที่เกี่ยวข้อง เพียง 1 หมวด 1 มาตรา โดยกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพ ในการพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ อย่างรวมๆ แต่ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยละเอียดมากขึ้น โดยเขียนแบ่งออกเป็น 2 หมวด 5 มาตรา แต่ละมาตราจะเขียนกำกับไว้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า บุคคลจะมีสิทธิและเสรีภาพได้แค่เพียงขั้นไหน และยังได้กล่าวถึงนโยบายที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนทางการศึกษาเพิ่มขึ้น

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-4550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ      ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 และประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช2540 - 2550 มีความเหมือนกันค่อนข้างมาก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ได้มีการกล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยังได้กล่าวถึง การส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเพิ่มขึ้น

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ   เพราะหากรัฐไม่ได้ระบุถึงการจัดการศึกษาที่เป็นธรรมและทั่วถึงแล้ว จะทำให้คนในประเทศเกิดความเหลื่อมล้ำกันทางการศึกษา บุคคลกลุ่มหนึ่งจะได้รับความรู้ความก้าวหน้าในด้านต่างๆ รอบตัวตลอดเวลา แต่บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งจะไม่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นได้เลย หากรัฐไม่เข้ามาช่วยเหลือและเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นได้รับการศึกษาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

7.เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติจงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ   เมื่อรัฐมีการกำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพทางการศึกษาแล้ว รัฐจะต้องมีการกำกับเงื่อนไข และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติขึ้นควบคู่ไว้ด้วย เพื่อป้องกันการศึกษาที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกไม่ควร อันจะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติไปในทางที่ไม่ดี หากมีบุคคลทำการศึกษาและให้ความจิงจังในการลงมือปฏิบัติ หรือการรวมกลุ่มกันเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

8.การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร
ตอบ     หากมีการเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น จะส่งผลให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และมีความทั่วถึงยิ่งขึ้น เพราะในส่วนของรัฐเอง คงจะไม่สามารถที่จะลงมาให้ความช่วยเหลือกับบุคคลที่อยู่ในส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ แต่หากมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ได้ช่วยเหลือดูแลกันในด้านการศึกษาจะทำให้บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ที่ทั่วถึงมากกว่า
9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผนของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชนสังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ     เพื่อให้ทุกคนในประเทศได้รับความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทุกคน แม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีสถานภาพทางสังคมที่ด้อยกว่าผู้อื่น หรือมีวุฒิภาวะที่แตกต่างกันก็ตามทุกคนล้วนมีสิทธิและเสรีภาพ รัฐจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือและให้ความคุ้มครอง พัฒนาและส่งเสริมให้มากขึ้นยิ่งกว่าบุคคลปกตินั้นเอง

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ       ผลจากการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ ประชาชนได้รับการศึกษา ได้มีความรู้ในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้คนในชาติ ได้ทำให้ประชาชนมีการเปิดกว้างทางการศึกษาในการพบบุคคลประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่มี ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติได้จริงมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้รับความรู้เชิงประสบการณ์มากกว่าการศึกษาแต่ภายในห้องเรียน

วันจันทร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทิน 2

แบบฝึกหัด

คำสั่ง  หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง  

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ    มนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลาพังได้ จำเป็นต้องอาศัยพึ่งพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่รวมกันเป็นสังคมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและอยู่รอดได้ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทาร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัว ไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐ จึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น จนกลายเป็น “กฎหมาย”
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ     อย่างที่กล่าวมาว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคมไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้ ไม่ว่าจะเป็นสังคมในยุคไหนสมัยใดก็จำเป็นจะต้องมีกฎหมายเพื่อเป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน แนวปฏิบัติ หากไม่มีกฎหมายคอยควบคุมสังคมมนุษย์ก็จะสามารถทำตามความพึงพอใจของตน จนกลายเป็นความขัดแย้ง เป็นความรุนแรง และสังคมก็จะเป็นสังคมไม่ได้
3.  ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้     
ก.  ความหมาย                      ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย        
ค. ที่มาของกฎหมาย                ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ     ก. กฎหมายคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
          ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย พอสรุปได้ 4 ประการ คือ
1.       เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้
2.       มีลักษณะเป็นคาสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คาวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์
3.       ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้
4.       มีสภาพบังคับ ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ กำหนด หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ
          ค. ที่มาของกฎหมาย มีตำราบางแห่งใช้ว่าบ่อเกิดของกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นรูปแบบที่กฎหมายแสดงออกมา สำหรับที่มาของกฎหมายในแต่ละประเทศมีที่มาแตกต่างกัน ส่วนของประเทศไทย พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
1.       บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร
2.       จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
3.       ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี
4.       คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนาไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5.       ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
          ง. แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอกกฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
1.       แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
2.       แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
3.       แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
4.       แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ     ประเทศถือเป็นสังคมขนาดใหญ่ รองจากสังคมโลก ซึ่งสังคมทุกสังคมจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเพื่อเป็นระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมนั้น ๆ เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ประเทศทุกประเทศจะมีกฎหมายซึ่งแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับบริบทต่าง ๆ ของประเทศ ทุกประเทศเป็นประเทศได้เพราะมีกฎหมายคอยบังคับควบคุมสมาชิกในประเทศ
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ     กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย
          สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง  มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ     สภาพบังคับของกฎหมายนั้นแบ่งเป็นสภาพบังคับในทางอาญาและทางแพ่ง สภาพบังคับให้ทางอาญาโดยทั่วไปแล้ว คล้ายคลึงกัน คือ หากเป็นโทษสูงสุดจะใช้วิธีประหารชีวิต ซึ่งประเทศไทยในปัจจุบันให้นำไปฉีดยาให้ตายใช้วิธีประหารด้วยวิธีอื่นไม่ได้ นอกจากนั้นก็เป็นการจำคุก สำหรับกฎหมายไทยโทษกักขังจะใช้เฉพาะผู้ซึ่งกระทำผิดครั้งแรก และความผิดนั้นมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ศาลจึงจะลงโทษกักขังแทนจำคุกได้ ส่วนการปรับคือ ให้ชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในคำพิพากษาต่อศาล การริบทรัพย์สิน คือ การริบเอาทรัพย์นั้นตกเป็นของแผ่นดิน นอกจากการริบแล้วอาจสั่งทำลายทรัพย์สินนั้นเสียก็ได้ สภาพบังคับในทางแพ่งก็ได้แก่ การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายตกเป็นโมฆะ ตัวอย่างเช่น การซื้อขายที่ดินโดยมิได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานตกเป็นโมฆะ การทำนิติกรรมซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายก็ดี เป็นการพ้นวิสัยก็ดี เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดี ตกเป็นโมฆะ การให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งจากการไม่ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ถูกละเมิดเป็นต้น
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ    ระบบของกฎหมายบางตาราใช้ว่า สกุลกฎหมาย ที่ใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลกนี้พอที่จะ แบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
1.       ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
2.       ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง  มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย อะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ     แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอกกฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
1.                   แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
2.                   แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
3.                   แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
4.                   แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน

9. ท่านเข้าใจถึงคา ว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร  มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ       ศักดิ์ของกฎหมาย” พอที่จะสรุปได้ว่า เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน” จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลาดับมีการจัดอย่างไร ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้
10. เหตุการณ์  เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555  มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรม รูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ  แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ  ลงมือทำร้ายร่างกาย ประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า  รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ     การชุมนุมของประชาชน หากเป็นการชุมนุมอย่างสงบจริง ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะกฎหมายแต่ละกฎหมายล้วนสร้างขึ้นเพื่อประชาชน ประชาชนทุกคนมีสิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงขึ้นในพื้นที่การชุมนุม รัฐบาลก็สามารถที่จะประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขวางไม่ให้ประชาชนมาชุมนุมได้ แต่ไม่ควรลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ควรดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปและใช้เหตุผลในการขัดขวางการชุมนุมของประชาชน
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า  กฎหมายการศึกษาอย่างไร  จงอธิบาย
ตอบ      กฎหมายการศึกษา เป็นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้  ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไป       ประกอบอาชีพครู  จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
ตอบ    กฎหมายทางการศึกษาเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาและสถาบันการศึกษา ครูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันการศึกษา มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจเรื่องกฎหมายการศึกษา ถ้าหากครูไม่รู้ไม่เข้าใจกฎหมายการศึกษาก็จะไม่สามารถทำงานให้ตรงกับระบบการศึกษาของประเทศได้ ไม่สามารถรู้และวัดผลได้ว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นดี ไม่ดี ถูกหรือผิด ส่งผลต่อต่อการทำงานของตัวครูเองและตัวนักเรียนที่สอนไม่ได้รับการเรียนรู้และพัฒนาอย่างเป็นระบบ

อนุทิน 1


ประวัติส่วนตัว
ชื่อ: นางสาวกมลวรรณ ควรเรือง (Kamonwan Khuanrueang)
ชื่อเล่น: นุ่น (Nune)
วันเดือนปีเกิด: วันพฤหัสบดี ที่ 1 เดือนสิงหาคม พ.. 2539
อายุ: 22 ปี
ที่อยู่: 17/2 หมู่ 14 ตำบลเสาเภา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 80340
กำลังศึกษา: คณะครุศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมาช
งานอดิเรก: ฟังเพลง เล่นเกมส์ ถ่ายรูป
ของสะสม: Piglet ตัวละครในเรื่อง Winnie the pooh
อุดมการณ์ความเป็นครู
          ครูคือต้นแบบ ทั้งทางด้านการเรียน การสอน คุณธรรมจริยธรรมและบุคลิกภาพ โดยมีองค์ประกอบคุณลักษณะที่เพียบพร้อมในฐานะครูและพลเมืองที่มีคุณภาพมีความสามารถและทักษะในด้านการเรียนการสอนที่สร้างสรรค์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียม           สมกับเป็นบุคลากรในวิชาชีพชั้นสูงมีสมกับความเป็นครูและมีความรู้ที่กว้างขวาง ไม่ใช่เฉพาะสาขาวิชาที่จบมา       
เป้าหมาย
       พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านการศึกษาและทักษะการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน